แดดเมืองไทย ติดฟิล์มแบบไหนเอาอยู่?
🌡 รู้จักตัวการ "ความร้อน" ที่ต้องป้องกัน:
ในแสงแดดประกอบไปด้วยคลื่นพลังงานหลายชนิด ซึ่ง 2 ตัวหลักที่เราควรโฟกัส คือ
🔥รังสีอินฟราเรด (Infrared - IR)
เป็นพลังงานคลื่นยาวที่มองไม่เห็น แต่ให้ “ความร้อน” เป็นหลัก คิดเป็นประมาณ 53% ของพลังงานจากแสงอาทิตย์ เมื่อรถจอดกลางแดด หรือขับขี่ช่วงบ่าย ความร้อนจากอินฟราเรดคือสิ่งที่ทำให้รู้สึกอบอ้าวในห้องโดยสาร
☀ รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet - UV)
คิดเป็นเพียง 3–5% ของพลังงานจากแสงอาทิตย์
แต่ส่งผลต่อ “การซีดจางของเบาะ/คอนโซล” และ “ผิวหนังมนุษย์”
รังสี UV-A และ UV-B เป็นตัวการที่ทำลายเซลล์ผิว และทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ในระยะยาว
✅ แล้วฟิล์มแบบไหนที่ "เอาอยู่" กับแดดเมืองไทย?
🔹 เลือกฟิล์มที่ "กันอินฟราเรดสูง" ให้ดูที่ค่า IR Rejection (%) หรือบางแบรนด์ใช้ IRR
ฟิล์มคุณภาพสูงควรกัน IR ได้ตั้งแต่ 40++% ขึ้นไป
🔹 เลือกฟิล์มที่ "กัน UV ได้ 99% ขึ้นไป" ค่า UV Rejection ที่ดีควรสูงกว่า 99% หรือเทียบเท่า UPF50+
🥰ถ้าไม่อยากให้รถร้อนจัดตอนจอดกลางแดด หรือขับรถแล้วรู้สึกเหมือนอยู่ในเตาอบ การติดฟิล์มกรองแสงที่มีค่า IR และ UV Rejection สูงเป็นคำตอบที่ “เอาอยู่” กับแดดเมืองไทยอย่างแท้จริง และถ้าคุณกำลังมองหา ฟิล์มกรองแสงที่ทั้งกันร้อน กัน UV และไม่รบกวนสัญญาณ – WINCOS คือหนึ่งในตัวเลือกที่มืออาชีพหลายคนวางใจ
อ่านเพิ่มเติม
หากคุณต้องการเจาะลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง สามารถอ่านได้ที่บทความ
wincosclub.com/ฟิล์มนาโนเซรามิคคืออะไร-ต่างจากฟิล์มเซรามิคทั่วไปอย่างไร